หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อาหารโปรดของกระรอก


ผลไม้ต่างๆ



ผลไม้ต่างๆ เช่น กล้วย ส้ม มังคุด กระรอกกินผลไม้ได้เกือบทุกชนิด โดยเฉพาะมะพร้าวเป็นผลไม้ที่กระรอกชอบมาก กระรอกสามารถแทะมะพร้าวทั้งลูก กินเนื้อมะพร้าว และสร้างเป็นรังนอนได้ในเวลาอันสั้นเนื่องจากฟันที่แข็งแรง และถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแทะ กระรอกบางตัวจะชอบผลไม้รสเปรี้ยว เช่นมะนาว มะขามเปียกผลไม้เหล่านี้เป็นแหล่งวิตามินซีที่ดีของกระรอก กระรอกบางตัวกินมะนาวได้เป้นลูกๆ กินเยอะมากไปก็ไม่ดีนะคะผลไม้ตระกูลแตง ไม่ว่าจะเป็น แตงโม แตงกวา แตงไทย หรือแตงล้านล้วนเป็นอันตรายต่อลูกกระรอกทั้งสิ้น เนื่องจากน้ำที่มีมาก และยางหรือยาฆ่าแมลงที่ตกค้างลูกกระรอกอาจท้องเสียทันทีที่ได้รับอาหารประเภทนี้ ในกรณีกระรอกโต บางตัวกินได้บางตัวกินแล้วท้องเสีย 

ธัญพืช และถั่วต่างๆ


ถั่วต่างๆ เช่นถั่วลิสงแห้ง เมล็ดถั่วลันเตาแก้ง เมล็ดทางตะวัน ฯลฯ ควรระวังสารพิษอะฟลาท็อกซิน ที่เกิดจากเชื้อราในถั่วแห้งต่างๆ ควรตรวจสอบดูว่ามีความใหม่ และไม่เกิดรา สังเกตจากจุดดำๆ

ที่อาจเกิดขึ้น ในกรณีเกิดเชื้อราธัญพืช ได้แก่ ข้าวโอ๊ต ข้าวไร กระรอกบางตัวจะชอบแทะ บางตัวอาจไม่ชอบ ธัญพืชส่วนใหญ่ให้พลังงานสูง มีกลิ่นหอม ระวังเรื่องชื้น และการเกิดรา เช่นเดียวกับเมล็ดถั่วแห้ง 

แมลงและเนื้อสัตว์


กระรอกบางตัวจะกินแมลง เช่น แมลงเม่า ซึ่งกระรอกอาจจับกินเอง เพื่อเสริมวิตามิน และธาตุอาหารบางชนิดซึ่งไม่มีในผลไม้ ธัญพืช และถั่วต่างๆ

นม และอาหารเสริม


ลูกกระรอกมักต้องการนมเป็นอาหารหลัก โดยปกติลูกกระรอกจะกินนมแม่ ถึงอายุประมาณ 2 เดือน โดยจะเริ่มกินผลไม้ตั้งแต่อายุ 1 เดือน แม้ว่ากระรอกกินผลไม้ได้บ้างแล้วเราก็ควรให้นมด้วย

เพราะลูกกระรอกต้องการแคลเซียมเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต

นมสำหรับูกกระรอกเล็ก ได้แก่

1. นมวัว
2.นมแพะ 
3. นมข้นหวาน
4. ซิลิแล็ก 
5. นมถั่วเหลือง
อาหารเสริม

- Heinz มีทั้งสูตรผลไม้เข้มข้น และสูตรที่เป็นข้าวโอ๊ตต่างๆ โดยอาหารเสริมเหล่านี้ควรให้ลูกกระรอกที่อายุ 2 เดือนขึ้นไป

- กล้วยน้ำว้าบด + ผลไม้ ควรเสริมกล้วยบด สลับกับนมให้ลูกกระรอกตั้งแต่อายุ 1.5 เดือนขึ้นไปเพื่อฝึกให้ลูกกระรอกกินผลไม้ และชินกับรสชาตของผลไม้


ข้อควรระวัง

1. ระวังสารเคมีตกค้างในผลไม้ และสารพิษจากเมล็ดถั่วแห้ง
2. ไม่ควรเปลี่ยนนมกระทันหัน
3. กระรอกควรได้รับอาหารที่หลากหลาย มากกว่ากินชนิดเดียวนานๆ
4. การเปลี่ยนแปลงอาหารทุกครั้ง ควรสังเกตุกระรอกว่ากระรอกมีอาการผิดปกติหรือไม่


กระรอกสายพันธุ์ต่างๆ

 กระรอกสวนหรือกระรอกบ้าน

     กระรอกสวนหรือกระรอกบ้าน เป็นกระรอกขนาดกลาง มีขนาดเล็กกว่ากระรอกหลากสี เล็กน้อย ทั่วไปลำตัวมีสีน้ำตาลแกมเขียว ลำตัวส่วนล่างขนสีน้ำตาลแดง ส้ม หรือสีเหลืองนวล




 กระรอกแดงท้องขาว
     
    กระรอกแดงท้องขาว เป็นกระรอกขนาดกลาง จัดเป็นกระรอกหลายสี สีบริเวณหลังจะมีสี แดงอมน้ำตาลจะเข้มไม่เข้มขึ้นอยู่ที่สีของตัวกระรอก บริเวณท้องจะมีสีขาวออกครีม**หมายเหตุกระรอกแดงท้องขาวตอนเด็กท้องจะไม่ขาวครีมจนกว่าจะผลัดขนเสร็จ**




 กระรอกเทาท้องขาว
     
    กระรอกเทาท้องขาว เป็นกระรอกขนาดกลาง จัดเป็นกระรอกหลายสี สีบริเวณหลังจะมีสี เทาจัดถึงดำจะเข้มไม่เข้มขึ้นอยู่ที่สีของตัวกระรอกเหมือนแดงท้องขาว  บริเวณท้องจะมีสีขาวออกครีม**หมายเหตุกระรอกเทาท้องขาวตอนเด็กท้องจะออกสีชมพูและหลังเป็นสีนั้นๆตั้งแต่เด็กไม่เหมือนแดงท้องขาว**


 กระรอกเผือก(สีครีม)
    
     กระรอกเผือก(สีครีม) หนึ่งในกระรอกหลากสี จะมีชื่อเรียกต่างๆกันไปตามสถานที่ เช่น เผือกนครสวรรค์ เผือกสระบุรี เผือกเกาะสีชัง ฯลฯ






 กระรอกดง(ธรรมดา)
  
    กระรอกดงธรรมดามีขนาดตัวโตกว่ากระรอกสวนมีขนาดลำตัวยาว สีจะเหมือนกระรอกสวนแต่มีปลายหางดำ





 กระรอกดงเกราะทอง

    กระรอกดงเกราะทองถือว่ามีขนาดตัวโตพอสมควร โดยรวมสีเหมือนดงธรรมดาแต่หลังดงเกราะทองจะมีสีทองเข้มบางตัวอมส้มจึงทำให้ได้ชื่อว่าดงเกราะทองเพราะสีหลังเหมือนคนใส่เสื้อเกราะ


 กระรอกแดงชล
    
     กระรอกแดงชล กระรอกหลากสี  เป็นกระรอกขนาดกลางมีสีสันหลากหลายมาก เป็นกระรอกที่มีหางพลิ้วเป็นพวงสวยงามมาก




 กระรอกดำชล

    กระรอกดำชล จัดเป็นกระรอกหลากสี  เป็นกระรอกขนาดกลางมีสีดำทั่วทั้งตัว เป็นกระรอกที่มีหางพลิ้วเป็นพวงสวยงามมาก





 กระรอกเผือก(ขาว)
     
    กระรอกเผือก(ขาว) เผือก คือ ความผิดปกตินอกเหนือจากสายพันธุ์ที่เขาเป็น ซึ่งอาจมาจากเซลล์ในการผลิตสีทำงานไม่ปกติ ไม่มีเม็ดสี ทำให้ผิว/ขนขาวซีด และตาแดง
  กระรอกสามสี 

      กระรอกสามสี  เป็นกระรอกที่ใหญ่ที่สุดใน สกุล Callosciurus มีลักษณะสีขนที่เด่นชัด โดยหู ส่วนบนของหัว หลัง และหางเป็นสีดำ สีข้างและต้นขาหลังเป็นสีขาว ท้องขาหน้าและปลายขาหลังเป็นสีน้ำตาลแดง บางครั้งอาจพบหางเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลเรียบๆ แก้มมีสีเทาจาง

  พญากระรอกดำ      
      พญากระรอกดำ (Black giant squirrel) : จัดเป็นหนึ่งในกระรอกชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นกระรอกที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่พบในประเทศไทย หางยาวเป็นพวง ขนตามตัวและหางมีสีดำสนิท บางตัวอาจมีขนที่สะโพกหรือโคนหางออกสีน้ำตาล ขนบริเวณแก้มและท้องเป็นสีเหลือง เท้าหน้ามี 4 นิ้ว เท้าหลังมี 5 นิ้ว เมื่อโตเต็มที่ ลำตัวและหัวจะยาว 33-37.5 เซนติเมตร หางยาว 42.5-46 เซนติเมตร หนักราว 1-1.6 กิโลกรัม


 ***หมายเหตุ***  กระรอกยังมีอีกหลายสายพันธุ์ที่เอามาให้ดูเป็นแค่บางส่วนเท่านั้น



กลุ่มกระรอกต้นไม้และกระรอกดินมี ทั้งหมด17 ชนิด

•พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) 
•พญากระรอกเหลือง (Ratufa affinis) 
•กระรอกข้างลายท้องแดง (Callosciurus notatus) 
•กระรอกข้างลายท้องเทา (Callosciurus nigrovittatus) 
•กระรอกท้องแดง (Callosciurus erythraeus) 
•กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) 
•กระรอกปลายหางดำ (Callosciurus caniceps) 
•กระรอกหลากสี (Callosciurus prevostii) 
•กระรอกหางม้าใหญ่ (Sundasciurus hippurus) 
•กระรอกหางม้าเล็ก (Sundasciurus tenuis) 
•กระรอกหางม้าจิ๋ว (Sundasciurus lowii) 
•กระเล็นขนปลายหูยาว (Tamiops rodolphei) 
•กระเล็นขนปลายหูสั้น (Tamiops mcclellandi) 
•กระจ้อน (Menetes berdmorei) 
•กระรอกหน้ากระแต (Rhinosciurus laticaudatus) 
•กระรอกลายแถบ (Lariscus insignis) 
•กระรอกดินแก้มแดง (Dremomys rufigenis) 

กลุ่มกระรอกบิน มี 12 ชนิด
•พญากระรอกบินหูดำ (Petaurista elegans) 
•พญากระรอกบินหูแดง (Petaurista petaurista) 
•พญากระรอกบินหูดำหางเข้ม (Petaurista philippensis) 
•พญากระรอกบินสีดำ (Aeromys tephomelas) 
•กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Hylopetes phayrei) 
•กระรอกบินเล็กเขาสูง (Hylopetes alboniger) 
•กระรอกบินแก้มสีแดง (Hylopetes spadiceus) 
•กระรอกบินแก้มเทา (Hylopetes lepidus) 
•กระรอกบินจิ๋วท้องขาว (Petinomys setosus) 
•กระรอกบินจิ๋วมลายู (Petinomys vordermanni) 
•กระรอกบินเท้าขน (Trogopterus pearsoni) 
•กระรอกบินสีเขม่า (Pteromyscus pulverulentus) 
..........